“ปั้นหม้อ” คำพูดนี้พูดต่อกันมานานเข้า ทำให้แผลงมาเป็น “บ้านหม้อ” จนทุกวันนี้ซึ่ง ในปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ 4 บ้านหลุมดิน ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2535 จากสภาตำบลบ้านหม้อได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และย้ายที่ทำการใหม่มาตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านไร่ พะเนียด (เพชรราษฎร์บำรุง) ในปลายปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากโรงเรียนมีจำนวนนักเรียน น้อยลง เพราะเด็กนักเรียน ในพื้นที่นิยมไปเรียนโรงเรียนในตัวเมืองกันเป็นส่วนมาก โดยครูภาณุ ทิพวัล เป็นครูใหญ่คนสุดท้าย ก่อนที่โรงเรียนบ้านไร่พะเนียดจะถูกยุบ และเปลี่ยนเป็น ที่ทำการองค์การบริหารส่วน-ตำบลบ้านหม้อในปัจจุบัน
บ้านไร่พะเนียด ……. มาจากไหน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วยหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันมี นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ต้องยอมรับความจริงว่าตำบลบ้านหม้อ เมื่อถูกยกฐานะขึ้นมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ในยุตฯของนายกคนปัจจุบัน ทำให้มีความเจริญก้าวหน้ามาตามระดับ ทั้งด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสามัคคีของชุมชน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ทั้ง 6 หมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 6.9 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมแนวถนนเพชรเกษมทั้งสองฝั่ง นับตั้งแต่สะพานข้ามแม่น้ำเพชรบุรี ( ถนนเพชรเกษม ) คนพื้นที่เรียกว่า สี่แยกทางหลวงหรือสี่แยกบ้านไร่เพนียด ไปจนถึงแยกเขาบันไดอิฐ
ฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษม เลี้ยวเข้าอำเภอบ้านลาดตรงสี่แยกไร่เพนียด ( ถนนสมานประชากิจ ) ประกอบด้วย หมู่ 1 เรียกว่าบ้านไร่ หมู่ 2 เรียกว่าบ้านท่าโพธิ์ หมู่ 3 เรียกว่าบ้าน ไร่พะเนียด ทั้งนี้เป็นที่เข้าใจว่า นับตั้งแต่สี่แยกไร่เพนียดเข้าไปทางอำเภอบ้านลาด จนถึงวัดประดิษฐฯ ( เจดีย์แดง ) ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเรียกพื้นที่แบบนี้เหมารวมว่า “บ้านไร่พะเนียด”
บ้านไร่เพนียด ชื่อนี้สันนิษฐานว่า เป็นชื่อมีที่มาแต่เดิมสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะปรากฏหลักฐานว่าบริเวณหมู่ 3 ( บ้านไร่พะเนียด ) เคยเป็นพะเนียดคล้องช้างมาก่อน ทั้งนี้ โดยบริเวณฝั่งตรงข้าม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ หมู่ 3 เคยเป็นพะเนียดคล้องช้างสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณดังกล่าวเคยพบซากลานปูนด้วยอิฐแดง ชนิดเดียวกับเจดีย์แดง อยู่เป็นบริเวณกว้างประมาณไร่เศษ
เหตุที่เรียกว่าชื่อนี้ …..
หมู่ 1 บ้านไร่
ชาวบ้านหมู่ที่ 1 มีทั้งเชื้อสายไทยและเชื้อสายจีน เดิมเล่าต่อกันมาว่านิยมทำไร่ทำนา ทำสวนมะม่วง สวนละมุด ปลูกพืชผักสวนครัวไว้ขายและกินเองในครอบครัว พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก อำเกษตรกรรม ซึ่งอาจเป้ฯที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านไร่”
หมู่ 2 บ้านไร่พะเนียด
บ้านไร่เพนียด ชื่อนี้สันนิษฐานว่า เป็นชื่อมีที่มาแต่เดิมสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะปรากฏหลักฐานว่าบริเวณหมู่ 3 ( บ้านไร่พะเนียด ) เคยเป็นพะเนียดคล้องช้างมาก่อน ทั้งนี้ โดยบริเวณฝั่งตรงข้าม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ หมู่ 3 เคยเป็นพะเนียดคล้องช้างสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณดังกล่าวเคยพบซากลานปูนด้วยอิฐแดง ชนิดเดียวกับเจดีย์แดง อยู่เป็นบริเวณกว้างประมาณไร่เศษ
หมู่ 3 บ้านเหมืองทะโมน
เรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าบ้านเหมืองทะโมน เดิมเป็นเพียงเหมืองท่าน้ำที่มีความลึกและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมมาอาจน้ำตรงเหมืองนี้ อีกทั้งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำตำบลชื่อว่าโรงเรียนเหมืองทโมน จึงใช้ชื่อนี้เรื่อยมา
หมู่ 4 บ้านหลุมดิน
สมัยก่อนตำบลบ้านหม้อมีชื่อเสียงในเรื่องการปั้นดินเผามาก สังเกตได้ว่ามีโรงงานเตาอิฐอยู่ และการใช้เครื่องปั้นก็ต้องใช้ดินเป็นองค์ประกอบหลักและดินดีจะอยู่ที่ตำบล บ้านหม้อเท่านั้น จึงมีการขุดหลุมเอาดินไปใช้จนพื้นที่ดังกล่าวเป็นหลุม ปัจจุบันจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่าหลุมดิน
หมู่ 5 บ้านโคกมะกรูด
บ้านโคกมะกรูด แยกออกมาจากบ้านหลุมดิน เนื่องจากว่าบ้านหลุมดินเดิมมีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ประชากรดั้งเดิมทำอาชีพเกษตรกรรม เหตุที่เรียกว่าบ้านโคกมะกรูดเพราะจากเดิมมีวัดเก่าอยู่ชื่อ วัดโคกมะกรูด จึงใช้ชื่อนี้เรียกต่อมาจนถึงปัจจุบัน
หมู่ 6 บ้านไร่พัฒนา
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ 4 และ 5 เมื่อประชากรมีจำนวนมากขึ้น จึงแบ่งเขตออกมาเป็นหมู่ที่ 6 และชาวบ้านร่วมกันพัฒนาให้เกิดความสะดวก และสะอาดมากขึ้น
หน่วยงานภาครัฐ
ลิขสิทธิ์ © 2562 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.